วิสัยทัศน์ (Vision) : “องค์กรแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายธรรมาภิบาล มีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน”
ปรัชญา : มีวินัย จิตอาสา มีความรับผิดชอบ
ค่านิยม (Value) : ยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจบริการทีมงานเข้มแข็ง,มีวินัย (SMILE SERVICE STRONG)
พันธกิจ (Mission)
1. ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. จัดระบบ ส่งเสริม ประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาและจัดทำแผนการศึกษา
3. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน
4. ส่งเสริม ประสานงานการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษาสำหรับประชากรทุกกลุ่ม ทุกประเภท
5. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา
6. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานลูกเสือ ยุวกาชาด กิจการนักเรียน งานศาสตร์พระราชาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการศึกษา
7. ปฏิบัติภารกิจ ประสานงาน เร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่รับผิดชอบและประสานงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
8. ดำเนินงานธุรการของคณะ กศจ. และ อกศจ. รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่และหน้าที่ของ กศจ. มอบหมาย
9. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
10.ดำเนินการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยงานให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
เป้าประสงค์ (Objectives)
1. บริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ประสานบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานทางการศึกษาทุกภาคส่วน ในการบริหารพัฒนาการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถสนับสนุนการจัดการศึกษาของจังหวัดชุมพร ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
เป้าหมาย
1. สถานศึกษาดำเนินโครงการ/กิจกรรมสร้างจิตสำนึกรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. สถานศึกษาดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ทักษะชีวิตรู้เท่าทันและ สร้างภูมิคุ้มกันการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและภัยคุกคามทุกรูปแบบ
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดมั่น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในหน่วยงานและสถานศึกษา
2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกัน กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะชีวิต การป้องกันภัยคุกคามทางเทคโนโลยี ทางสังคมภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติเหตุ
4. ส่งเสริมการเรียนรู้และขยายผลการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
5. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่ชายแดน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เป้าหมาย
1. สถาบันอาชีวศึกษา ผลิตกำลังคนให้มีความสามารถรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน
2. ร้อยละของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมสถาบัน และหน่วยงานทางการศึกษา ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่สำคัญ จำเป็นและสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
2. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ทวิศึกษา ทวิภาคี สหกิจศึกษา เพื่อวางรากฐานสู่การมีงานทำ และพัฒนาภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา
3. เสริมสร้างศักยภาพและคุณภาพของผู้เรียนและประชาชนของจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมการวิจัย และการพัฒนาผู้เรียนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
4. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสถานศึกษา ให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และกำรสร้างสังคมแห่งกำรเรียนรู้
เป้าหมาย
1. หน่วยงานทางการศึกษา/สถานศึกษา ดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพ คนทุกช่วงวัย และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
2. ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทุกคน ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะตรงตาม มาตรฐานวิชาชีพ
3. หน่วยงานทางการศึกษา/สถานศึกษา ดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
3.1 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยครบทุกด้าน
3.2 นักเรียนทุกคนอ่านออก เขียนได้
3.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.4 ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
3.5 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานด้านอาชีวศึกษา V-NET ระดับ อาชีวศึกษา มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.6 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (N-NET) มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.7 มีการส่งเสริมการสอน ความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะการอ่านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวทาง PISA
แนวทางการพัฒนา
1. ประสาน สถาบัน/หน่วยงาน/สถานศึกษา ให้มีการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
2. พัฒนาการสอนโครงงานแบบ Active Learning ในระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาเอกชน
3. พัฒนาครูแกนนำการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ PLC สู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาเอกชน
4. ส่งเสริมให้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
5. ส่งเสริมการสร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและยกย่องครูที่มีอุดมการณ์
6. ส่งเสริมสถาบัน หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ ตำราเรียน สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จ ากัดเวลาและสถานที่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา
เป้าหมาย
1. สถานศึกษา สร้างโอกาส และความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง
2. สถานศึกษาจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มโอกาส และความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาให้มีพัฒนาและมีศักยภาพในการจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
1. สถานศึกษา มีหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. หน่วยงาน/สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการขยะ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา พัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร เพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม และพัฒนาการเรียนรู้สู่ Active Learning ด้วย Professional Learning Community: PLC
4. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความรักและความภูมิใจในท้องถิ่น (สำนึกรักษ์บ้านเกิด)
5. ส่งเสริม สถาบัน/หน่วยงาน/สถานศึกษาทุกแห่ง การจัดกิจกรรมสร้างสื่อให้ผู้เรียนสำนึกรักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ส่งเสริมกิจกรรมบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ
เป้าหมาย
1. พัฒนาระบบการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
2. วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการในองค์การและสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
3. ระบบบริหารงานบุคคล มีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาระบบและกลไกลการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายเทคโนโลยี รวมทั้งรูปแบบ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างเครือข่าย/ความเป็นภาคีหุ้นส่วนกับองค์กรทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนให้มีความรู้ความเข้าใจและเข้ามาร่วม รับผิดชอบในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมสนับสนุนการประเมินสมรรถนะครูตามมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาระบบ การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง